Topic

Social Return on Investment (SROI) ตอนที่ 2

จากข้อมูลของ www.socialvaluelab.org.uk ระบุว่า SROI เป็นกรอบวิธีการวัดเพื่อกำหนดมูลค่าของกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วมีผลกระทบในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยปรับปรุงสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น จึงเป็นการคำนวณมูลค่าที่คำนึงถึง Costs, Benefits ทั้งจากมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

SROI ช่วยวัดให้เห็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งมาจากความพยายามของคน กลุ่มคน หรือองค์กรที่ช่วยกันดำเนินการในเรื่องนี้ และหาวิธีวัดมูลค่าในลักษณะ Monetary Values รวมทั้งอาจแสดงในลักษณะอัตราส่วน (Ratio) ระหว่าง Benefits/Costs ตัวอย่างเช่น A ratio of 3:1 ชี้ให้เห็นว่าการลงทุน 1 บาท ช่วยสร้าง Social Value มูลค่า 3 บาท

SROI เกี่ยวพันกับมูลค่า ซึ่งบอกถึงข้อมูลที่มีความหมายมากกว่าที่จะหมายถึงเพียงแค่เม็ดเงินในทางบัญชีหรือที่ปรากฏใน Financial Projection เท่านั้น แต่มันได้ถูกรวมมูลค่าที่แปลงมาจากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวเลขการเงินทางบัญชี

มูลค่าของ SROI ที่ถูกวัดกัน อาจอยู่ในลักษณะ Social Value ของทั้งองค์กรหรือเป็นของเฉพาะโครงการก็ได้

Two types of SROI

  1. Evaluative SROI เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางสังคมที่พิจารณาจาก Actual Outcomes ที่เกิดขึ้น
  2. Forecast SROI เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนโดยพิจารณาว่ากิจกรรมที่เกิดจริงแตกต่างจาก Intended Outcomes หรือไม่

การขาดข้อมูลประเภท Good Outcomes Data เป็นสิ่งที่ท้าทายในการคำนวณ SROI ในครั้งแรก ๆ

The stages in SROI

ในการเตรียมการวัด SROI มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การกำหนดขอบเขตของภารกิจและการระบุผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ (Establishing Scope and Identifying Key Stakeholders) คือระบุว่าการวิเคราะห์ SROI ที่กำลังทำนั้นครอบคลุมอะไรบ้างเพียงใด และใครเกี่ยวข้องบ้างอย่างไร ?
  2. การวางแผนผังของผลลัพธ์ (Mapping Outcomes) คือจะมีการสร้างและระบุ Impact Map เพื่ออธิบายว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยอาจแสดงให้เห็นกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่าง Inputs, Outputs, Outcomes เป็นต้น
  3. การแสดงข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับผลลัพธ์และการกำหนดมูลค่า (Evidencing Outcomes and Giving Them a Value) ในขั้นตอนนี้จะสรุปให้เห็นข้อมูลของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและกำหนดมูลค่าให้
  4. การประเมินผลกระทบ (Establishing Impact) เป็นการดึงหลักฐานต่าง ๆ ใน Outcomes ออกมาและกำหนดมูลค่าเป็นตัวเงินให้
  5. การคำนวณอัตราผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Calculating The SROI) ในขั้นตอนนี้จะรวบรวมตัวเลขผลประโยชน์หักออกจากต้นทุนและนำไปหารด้วยตัวเลขการลงทุน เพื่อให้ได้ค่า SROI ออกมา
  6. การรายงานผล การประยุกต์ใช้ (Reporting, Using and Embedding) เป็นการรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้องถึงค่า SROI ที่เกิดขึ้น รวมทั้งที่มาของตัวเลขทั้งค่าตัวเศษ และตัวส่วน ที่สามารถแยกส่วนประกอบ โดยสามารถนำไปวิเคราะห์ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกิจกรรมต่าง ๆ ก่อนที่จะสรุปเป็นมูลค่า เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุง SROI ให้ดีขึ้นกว่าเดิมต่อไป

How SROI can help you?

ข้อมูล SROI มีประโยชน์ที่สามารถเป็นทั้งเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์และวางแผนการเพิ่มมูลค่ากิจการโดยเพิ่มเติมการวัดมูลค่า Non-Financial Data เข้าไปในการคำนวณมูลค่ากิจการ นอกจากนี้การวิเคราะห์ขนาดของ SROI ยังทำให้ทราบระดับความคุ้มค่าของผลตอบแทนทางสังคมเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุนไป

สำหรับประโยชน์อื่น ๆ ของ SROI เช่น

  • ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรที่ทำงานโดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้
  • ทำให้มีข้อมูลยืนยันที่น่าเชื่อถือเป็นประโยชน์ในการระดมทุน

Who can use SROI?

SROI สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นองค์กรแสวงหากำไร และองค์กรไม่แสวงหากำไร ทั้งภาครัฐและเอกชน

  1. Not for Profit Organizations and Social Enterprises สามารถใช้ SROI เป็น Management Tool เพื่อวัดความสามารถในการดำเนินงาน (Performance) วัดผลประโยชน์ ต้นทุน และมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น
  2. Private Businesses ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก สามารถใช้ประโยชน์จาก SROI ในการประเมินความเสี่ยงและค้นหาโอกาสจากผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสินค้าและบริการที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และชุมชน เป็นต้น
  3. Funders ผู้ให้ทุนที่ลงทุนในโครงการเพื่อสร้าง Social Value ใช้ SROI เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนการตัดสินใจลงทุน หรือลงทุนไปแล้วที่ต้องติดตามความคืบหน้าของโครงการก็จะพิจารณาจากข้อมูล SROI ที่ต้อง Update อยู่เสมอ รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงเฉพาะด้าน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสังคมที่สนใจ
  4. Commisioners หน่วยงานของรัฐที่จะต้องอนุมัติโครงการมักจะให้ผู้ประมูล หรือประมูลได้เเล้วทำการวิเคราะห์และคำนวณ SROI ออกมาประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งอาจกำหนดให้มี Third Parties ทำการทบทวนหรือคำนวณซ้ำเพื่อความมั่นใจ


ที่มา : A Guide to Social Return on Investment, The SROI Network,www.socialvaluelab.org.uk, 2012

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย