ESG Risk

ESG Risk

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ
ประเด็นด้าน “ESG” หรือสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social)
และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือเรียกว่า

“ESG Risk”

ซึ่งเป็นความท้าทายที่องค์กรจะต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสร้าง
โอกาส และลดความเสี่ยง ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการสร้างผลกำไร การแข่งขัน
ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความอยู่รอดขององค์กร

ดังนั้นธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ โดยบูรณาการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนเข้าไปตั้งแต่การกำหนดพันธกิจและกลยุทธ์องค์กร รวมถึงควรวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk and Materiality Analysis) มาประกอบการจัดการความเสี่ยงในระดับต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ

ตัวอย่างของความเสี่ยงด้าน ESG

ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

  • ผลกระทบจากการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการจัดหาวัตถุดิบ
  • ผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) ที่มีต่อกระบวนการผลิตหรือบริการ
  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Tax)
  • สถานที่ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
  • การเลือกใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย
ความเสี่ยงด้านสังคม

ความเสี่ยงด้านสังคม

  • การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป
  • ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
  • คนในชุมชนไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงชุมชน
  • พนักงานไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ จึงเป็นความเสี่ยงทำให้ไม่สามารถสร้างคุณค่าที่ตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรได้
ความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล

ความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล

  • การที่องค์กรไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
  • ความบกพร่องในมาตรการกำกับดูแลภายในองค์กร
  • ความเสี่ยงจากการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีปัญหาด้านคอรัปชั่น
  • การไม่ผ่านกฎระเบียบ เช่น การพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
  • การเลือกวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้าง ทำให้ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ

ดังนั้นธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและปรับตัวรับความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดย COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของหน่วยงานสำคัญด้านการบัญชีและการตรวจสอบของประเทศสหรัฐอเมริการ่วมมือกับ WBCSD (World Business Council for Sustainable Development) ได้จัดทำร่างการบูรณาการประเด็นด้าน ESG กับการจัดการความเสี่ยงขององค์กร หรือ ERM (Enterprise Risk Management) ตามกรอบการบริหารความเสี่ยง COSO-ERM 2017 ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน เพื่อเป็นแนวทางให้กับบริษัทต่างๆ ในการทำความเข้าใจถึงประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถบริหารจัดการและเปิดเผยผลการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบการบริหารความเสี่ยง
COSO-ERM 2017

Governance & Culture
  1. หลักการที่
คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลความเสี่ยง
(Exercise Board Oversight)
  1. หลักการที่
จัดโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
(Establish Operating Structures)
  1. หลักการที่
กำหนดวัฒนธรรมองค์กร
(Define Desired Culture)
  1. หลักการที่
แสดงความมุ่งมั่นในค่านิยมองค์กร
(Demomstrates Commitment to Core Values)
  1. หลักการที่
จูงใจ พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถ
(Attract, Develop and Retain Capable Individuals)
Strategy & Objective Setting
  1. หลักการที่
วิเคราะห์โครงสร้างของธุรกิจ
(Analyzes Business Context)
  1. หลักการที่
กำหนดความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้
(Defines Risk Appetite)
  1. หลักการที่
ประเมินกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ
(Evaluates Alternative Strategies)
  1. หลักการที่
กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ
(Formulates Business Objectives)
Performance
  1. หลักการที่
ระบุความเสี่ยง
(Identifies Risk)
  1. หลักการที่
ประเมินความรุนแรงความเสี่ยง
(Assess Severity of Risk)
  1. หลักการที่
จัดลำดับความเสี่ยง
(Prioritizes Risks)
  1. หลักการที่
ดำเนินการตอบสนองต่อความเสี่ยง
(Implement Risk Responses)
  1. หลักการที่
จัดทำภาพรวมความเสี่ยงขององค์กร
(Develop Portfolio View)
Review & Revision
  1. หลักการที่
ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่มีสาระสำคัญ
(Assess Substantial Change)
  1. หลักการที่
ทบทวนความเสี่ยงและผลการดำเนินงาน
(Review Risk and Performance)
  1. หลักการที่
หาแนวทางในการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
(Pursues Improvement in ERM)
Information, Communication & Reporting
  1. หลักการที่
ผลักดันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Leverages Information and Technology)
  1. หลักการที่
สื่อสารข้อมูลความเสี่ยง
(Communicates Risk Information)
  1. หลักการที่
รายงานความเสี่ยง วัฒนธรรม และผลการดำเนินงาน
(Reports on Risk, Culture and Performance)

7 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

1
1

กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล

2
2

เข้าใจบริบทและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ
รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

3
3

ระบุประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

4
4

ประเมินและจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง
ด้าน ESG ที่เกี่ยวข้อง

5
5

ตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

6
6

ทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยง ด้าน ESG

7
สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

1

กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล

โครงสร้างการกำกับดูแลควรครอบคลุมตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหาร ประธานฝ่ายบริหารความเสี่ยง หน่วยงานบริหารความเสี่ยง เจ้าของความเสี่ยง และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความยั่งยืน โดยบุคคลเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแล ควบคุม และติดตามการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทควรส่งเสริมให้กรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงตระหนักถึงความเสี่ยงด้าน ESG และสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีภายในองค์กร

2

เข้าใจบริบทและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

หน่วยงานด้านความยั่งยืนต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านความเสี่ยงและหน่วยงานด้านกลยุทธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจ ติดตาม และสื่อสารแนวโน้มที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Mega Trends) และประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจหรือส่งผลต่อกลยุทธ์องค์กรทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ความมั่นคงด้านอาหาร การขยายตัวของสังคมเมือง เป็นต้น โดยอาจใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วย เช่น SWOT Analysis หรือการจัดทำแผนที่ความเชื่อมโยงระหว่างผลกระทบการพึ่งพา และการสร้างคุณค่าหรือผลกระทบ (Impact and Dependency Mapping) เป็นต้น รวมถึงกำหนดระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite)

3

ระบุประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

การระบุความเสี่ยง ESG โดยใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เช่น ตอบแบบสอบถาม การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมภาษณ์เจ้าของความเสี่ยงและผู้บริหารเพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) รวมถึงกำหนดความหมายและขอบเขตของความเสี่ยงให้ชัดเจน

4

ประเมินและจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงด้าน ESG ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อบริษัทสามารถกำหนดประเด็นความเสี่ยง ESG ได้จากขั้นตอนที่ 3 แล้ว ต่อมาบริษัทต้องทำความเข้าใจว่าประเด็นความเสี่ยงนั้นๆ ส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างไร ซึ่งบริษัทควรพิจารณาเลือกเกณฑ์จากตารางประเมินความเสี่ยง Risk Matrix ที่เหมาะสมในการประเมินความเสี่ยงรวมถึงกำหนดตัวแปรและสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรอบเวลา ขอบเขต เป็นต้น ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นว่ามีความรุนแรงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดและส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

5

ตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

เลือกวิธีตอบสนองต่อความเสี่ยงด้าน ESG โดยพิจารณาจาก 1) บริบทในการดำเนินธุรกิจ 2) ต้นทุนและประโยชน์ 3) ความสอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมองค์กร 4) พิจารณาความจำเป็นและเร่งด่วนในการตอบสนองโดยอ้างอิงจากตำแหน่งของความเสี่ยงบนตารางประเมินความเสี่ยง (Risk Matrix) เช่น อยู่ในระดับสูง (High) ปานกลาง (Medium) หรือต่ำ (Low) 5) พิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) และความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดจากความเสี่ยง (Risk Severity) ขององค์กร ทั้งนี้ บริษัทสามารถตอบสนองโดยการยอมรับความเสี่ยง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการเปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นโอกาส การลดความรุนแรงของความเสี่ยง และการแบ่งปันความเสี่ยง เป็นต้น

6

ทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

ดำเนินการทบทวนขั้นตอนที่ 1 – 5 อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ รวมไปถึงเฝ้าระวังและติดตามความก้าวหน้าในการตอบสนองต่อความเสี่ยงจากขั้นตอนที่ 5

7

สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

สื่อสารความเสี่ยงด้าน ESG แนวทางการจัดการ และผลการบริหารจัดการให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายใน (คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน) และภายนอก (เช่น นักลงทุน ลูกค้า NGOs และชุมชน) รับทราบ เนื่องจากความเสี่ยงถือเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการทำกลยุทธ์ การปฏิบัติงาน และการตัดสินใจลงทุน รวมถึงเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกคนในองค์กร ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร นอกจากนี้ บริษัทอาจนำเทคโนโลยีหรือซอฟแวร์อื่นๆ ที่ใช้อยู่ในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน เช่น ระบบบัญชี ระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการข้อมูลและกระบวนการทำงานภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการระบุความเสี่ยงและการรายงานความเสี่ยงได้

การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพโดยครอบคลุมความเสี่ยงด้าน ESG เป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญและมุ่งปฏิบัติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด